ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา Tea plant
Tea plant
Camellia sinensis (L.) Kuntze var. assamica (Mast.) Kitam.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Theaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Camellia sinensis (L.) Kuntze var. assamica (Mast.) Kitam.
 
  ชื่อไทย เมี่ยง, ชา
 
  ชื่อท้องถิ่น นอมื่อ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ชา, เมี่ยง(คนเมือง), เมี่ยง(ลั้วะ), ลาบ่อ(อาข่า)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ เมี่ยงเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก กิ่งก้านแตกออกด้านข้า ทรงพุ่มเป็นรูปกรวย เปลือกเรียบสีน้ำตาลปนเทา ใบเดี่ยวออกเรียงสลับ รูปหอก ปลายใบแหลม ขอบใบจักฟันเลื่อย แผ่นใบหนา ด้านบนใบมัน ใต้ใบมีขนอ่อนปกคลุม ดอกมีทั้งดอกเดี่ยวและออกเป็นกระจุกตามซอกใบหรือปลายกิ่ง สีขาว ผลทรงกลม ผิวเรียบ มี 3 พู ข้างในมีหลายเมล็ด
 
  ใบ -
 
  ดอก -
 
  ผล -
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ใบ นำมาประกอบอาหาร เช่นยำ หรือตากแห้ง นำมาชงดื่มเป็นน้ำชา(คนเมือง)
ใบ นึ่งแล้วใช้ห่อเกลือ เคี้ยวกินเล่น(ลั้วะ)
ยอดอ่อนและใบ ตากแห้ง แล้วนำมาชงน้ำดื่ม(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
- ใบ ขยี้แล้วบีบน้ำใส่แผลน้ำร้อนลวก แผลไฟไหม้(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
- ใบอ่อน หมักเมี่ยงขาย(คนเมือง)
ยอดอ่อน เก็บผลผลิตเพื่อขาย(คนเมือง)
- ใบสด เคี้ยวพอกบริเวณไฟลวกและเหยียบตะปู
ใบแห้ง ชงใส่น้ำตาล รักษาปวดท้อง (อาข่า)
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ ชอบขึ้นตามพื้นที่สูงโดยเฉลี่ยจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตร ความลาดชันพอสมควร มีอินทรียวัตถุในดินสูง ระบายน้ำได้ดี เป็นกรดเล็กน้อย
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง